วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558

บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาด

บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตลาด
วิวัฒนาการทางการตลาด  (Marketing Development)

  • ปัจจัยสี่หาจากธรรมชาติ (ยุคดึกดำบรรพ์)
  • การผลิตแบบง่ายๆ (การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ การทำอาวุธ)
  • ผลิตที่ตนเองถนัดได้มากพอ
  • แลกเปลี่ยนกัน (Barter System)
  • ใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Money System)
ตลาด (Market)
ตามหลักวิชาการตลาด
  • กลุ่มบุคคลหรือองค์กร
  • มีความจำเป็นและความต้องการ (Needs and Wants)
  • มีความเต็มใจในการแลกเปลี่ยน
  • มีความสามารถในการแลกเปลี่ยน
  • มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้ได้รับความพอใจของตน
แนวคิดทางการตลาด (The Marketing Concept)

  1. ศึกษาความต้องการของตลาด หรือผู้บริโภค
  2. วางแผนทางด้านการตลาด (4P's) โดยใช้เครื่องมือทางการตลาดเข้ามาช่วย
  3. เป้าหมายหลักเพื่อตอบสนองความต้องการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า


แนวคิดการตลาดทางสังคม (The Societal Marketing Concept)

  1. เป็นความรับผิดชอบเพิ่มเติมจากการสร้างความพึงพอใจ และความสุขให้กับผู้บริโภค
  2. สร้างความแตกต่างในความรู้สึก และความผูกพันธ์ต่อผู้บริโภคมากกว่าบริษัทอื่นๆ ที่ทำไม่ได้
ความหมาย
  • ความหมายเชิงแคบ:  นวัตกรรม คือ ผลผลิตของความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับพลวัตของกิจกรรมทางสังคม
  • ความหมายเชิงกว้าง: นวัตกรรม คือ แนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งต่างๆ ที่ใหม่ต่อตัวปัจเจกหรือหน่วยที่รับเอาสิ่งเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ การรวมเอากิจกรรมที่นำไปสู่การแสวงหาความสำเร็จเชิงพาณิชย์ การสร้างตลาดใหม่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการบริการใหม่ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงให้กลายมาเป็นโอกาส และถ่ายทอดไปสู่แนวคิดใหม่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

การแบ่งประเภทของนวัตกรรม

  • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ที่ประกอบไปด้วย
          -  นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้
          -  ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้
  • นวัตกรรมกระบวนการ

    ประเภทของนวัตกรรมออกเป็น 7 ประเภท
    • นวัตกรรมแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจให้ปนะสบความสำเร็จ
    • นวัตกรรมการตลาด (Marketing Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการทำการตลาดรูปแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product design หรือ packaging) หรือการกำหนดราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าและการส่งเสริมการตลาด
    • นวัตกรรมองค์กร (Organizational Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างใหม่ขององค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
    • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการหรือวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น
    • นวัตกรรมการบริการ (Services Innovation): เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับปรุงการให้บริการให้ดีขึ้น
    • นวัตกรรมห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Innovation): เป็นเรื่องของการพัฒนาแหล่งทรัพยากรต้นทางและการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับลูกค้า

    การจัดการนวัตกรรมทางการตลาด
    • ศาสตร์ของการต่อยอดและขยายผลการจัดการเทคโนโลยีให้ครบวงจรโดยการรวมศาสตร์ในแขนงต่างๆ
              -  วิทยาศาสตร์                                  -  สังคมศาสตร์
              -  การออกแบบและการตลาด           -  ทฤษฎีทางธุรกิจ
                -  เศรษฐกิจ

      • เพื่อให้ได้มาซึ่ง การรักษาศักยภาพในการแข่งขันและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ความรู้ แนวทางปฏิบัติ และกระบวนการใหม่ให้ดีขึ้น

      ทฤษฏีและแนวคิดหลัก "4P's" และ "4C's"

      4P's ประกอบด้วย ส่วนประกอบของการวางแผนสินค้าในส่วนของผู้ขาย ทั้ง 4 ด้าน

      ผลิตภัณฑ์ (Product) - การจัดการวางแผนทางด้านสินค้า อรรถประโยชน์ รูปทรง ครอบคลุมถึงบรรจุภัณฑ์

      ราคา (Price) - การจัดการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าสินค้า ที่ต้องไม่สร้างภาระในการดำเนินงานกับเจ้าของธุรกิจ แต่อยู่ในระดับที่ลูกค้าสามารถครอบครองเป็นของตนได้ รวมถึงรูปแบบการชำระค่าสินค้า

      ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) - การจัดการวางแผนจัดการด้านสถานที่ ที่ใช้ส่งมอบสินค้าในช่วงเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า

      การส่งเสริมการขาย (Promotion) - การสร้างความรู้จักความเข้าใจต่อตัวสินค้า รวมถึงสร้างแรงดึงดูดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า


      4C's ประกอบด้วย คุณค่าของสินค้าในส่วนของลูกค้าได้รับ ทั้ง 4 ด้าน
      คุณสมบัติที่ตอบสนองผู้ซื้อ (Customer Solution) - สินค้าตอบตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ (ในมุมมองผู้เขียน ขออนุญาตยกตัวอย่างจากคำว่า "คันตรงไหน ... เกาตรงนั้น")

      ราคาที่ลูกค้ารับได้ (Customer Cost) - สินค้าต่อให้มีคุณภาพดีแค่ไหน แต่ถ้าราคาสูงกว่ากำลังลูกค้าก็ไม่สามารถจำหน่ายได้ หรือถ้าคุณภาพดีมากแต้่ราคาต่ำเกินไป ก็ส่งผลต่อผู้ดำเนินธุรกิจได้

      ช่องทางที่ลูกค้าเข้าถึง (Convenience) - ลูกค้าชอบไปที่ไหน เวลาใด จำนวนเท่าไร เป็นสิ่งที่ผู้ผลิต ผู้ขายต้องคำนึงถึงในการจัดวางสินค้าให้ง่ายต่อการเข้าถึง

      รายละเอียดชัดเจน (Communication) - ผู้ขายต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจว่า สินค้านั้นๆ มีไว้ทำไม มีไว้เพื่ออะไร ใช้งานอย่างไร
             แต่อย่างไรก็ตามในการที่เราจะทำการวิเคราะห์ทางธุรกิจนั้น อาจมีปัจจัยทางด้านอื่นหรือวิธีการวิเคราะห์อีกหลานโมเดลที่เข้ามาช่วยซึ่งจะทำให้เราสามารถวิเคราะได้อย่างละเอียดและสามารถเข้าใจกระบวนการในการคิดวิเคราะห์มากขึ้นดังจะกล่าวในบทต่อๆไป

        ไม่มีความคิดเห็น:

        แสดงความคิดเห็น